เมนู

ภิกษุนั้นถือเอาทรัพย์นั้นล่วงเลยแดนกำหนดที่หมายไว้ไป เป็นปาราชิก. ถ้า
เธอกำหนดหมายแดนอุปจารไว้ เดินมุ่งหน้าไปทางนั่นเอง มนสิการกรรม-
ฐานเป็นต้นอยู่ก็ดี ส่งใจไปทางอื่นก็ดี ก้าวล่วงแดนอุปจารไป ด้วยทั้งไม่มีสติ
เป็นภัณฑไทย. แม้ถ้าเมื่อเธอไปถึงที่นั้นแล้ว มีโจร ช้าง เนื้อร้าย หรือ
มหาเมฆตั้งขึ้น และเธอก้าวล่วงสถานที่นั้นไปโดยเร็ว เพราะใคร่จะพ้นจาก
อุปัทวะนั้น เป็นภัณฑไทยเหมือนกัน. ก็ในคำนี้ อาจารย์บางพวกกล่าวว่า
เพราะในเบื้องต้นนั่นเอง เธอถือเอาด้วยไถยจิต; ฉะนั้น จึงรักษาไว้ไม่ได้
เป็นอวหารทีเดียว. นี้เป็นนัยในมหาอรรถกถาก่อน. ส่วนในมหาปัจจรี ท่าน
กล่าวไว้ว่า แม้ถ้าเธอรูปนั้น ขึ้นขี่ช้างหรือม้าอยู่ภายในแดนกำหนดไม่ขับช้าง
หรือม้านั้นไปเอง ท่านไม่ให้ผู้อื่นขับไป แม้เมื่อล่วงเลยแดนกำหนดไป ย่อม
ไม่เป็นปาราชิก เป็นเพียงภัณฑไทยเท่านั้น. ในปริกัป 2 อย่างนั้น ปริกัป
ที่เป็นไปว่า ถ้าพวกชนจักเห็นเราในระหว่างนี้ เราจักคืนแก่ชนเหล่านั้นนั่นแหละ
ทำทีเป็นหยิบ เพื่อต้องการจะดูเที่ยวไป นี้ ชื่อว่าโอกาสปริกัป. อวหารของ
ภิกษุผู้กำหนดไว้แล้วถือเอา ด้วยอำนาจแห่งปริกัป แม้ทั้ง 2 เหล่านี้ ดัง
พรรณนามาอย่างนี้ พึงทราบว่า เป็นปริกัปปาวหาร.

[

อรรถาธิบายปฏิจฉันนาวหาร

]
ส่วนการปกปิดไว้แล้วจึงลัก ชื่อว่าปฏิจฉันนาวหาร. ปฏิจฉันนาวหาร
นั้น พึงทราบอย่างนี้ :- ก็ภิกษุรูปใด เมื่อพวกมนุษย์กำลังเล่นอยู่ หรือ
กำลังเข้าไปในสวนเป็นต้น เห็นสิ่งของ คือ เครื่องอลังการซึ่งเขาถอดวางไว้
จึงเอาฝุ่นหรือใบไม้ปกปิดไว้ ด้วยคิดในใจว่า ถ้าเราจักก้มลงถือเอา, พวก
มนุษย์จักรู้เราว่า สมณะถือเอาอะไร ? แล้วจะพึงเบียดเบียนเรา จึงคิดว่า
ภายหลัง เราจักถือเอา ดังนี้, การยกสิ่งของขึ้น ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ ยังไม่มี